Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม 

1.Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม  คืออะไร
                Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คือคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม สายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทานและความเสถียรสูงกว่าปกติ โดยมักจะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในอุณหภูมิสูงหรือต่ำ ความชื้น การกระแทก การสั่นสะเทือน และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีความสามารถในการทำงานต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุดพัก หรือทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และมีระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เฟสที่หลากหลาย เช่น RS-232,RS-485, Dual LAN, USB, 4G Adapter และอื่นๆ  รวมถึงยังสามารถ Support OS รุ่นเก่าๆ ไปจนถึงใหม่ล่าสุดอย่าง Linux DOS Win98 Win2K Win7 ไปจนถึง Win11 ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และระบบต่างๆ ในการควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมและดูแลผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

 2. Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม ของเรามีกี่แบบ
2.1 Embedded Computer (Fanless embedded computer)
Embedded Computer (Fanless embedded computer) คือคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมที่ออกแบบมาให้ทำงานโดยไม่ต้องใช้พัดลมระบายความร้อน โดยจะใช้ ฮีตซิงก์ ระบายความร้อนแทน เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าเครื่องทำให้ Fanless embedded computer ทนทานกว่า  ซึ่งออกแบเพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลและควบคุมอุปกรณ์ในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในงานฝังตัว (embedded)  เชื่อในตู้ Control ที่มีพื้นที่จำกัด ซึ่ง Fanless Embedded Computer มักจะมีขนาดเล็กและเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ standalone หรือร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น PLC, HMI, SCADA ฯลฯ

Embedded Computer (Fanless embedded computer) มักจะมีความทนทานและความเสถียรสูง เพราะถูกออกแบบมาเพื่อทำงานในสภาวะที่อุปกรณ์ต่างๆ มีการสั่นสะเทือน  รวมถึงการทำงานซึ่งต้องมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ  อุณหภูมิ -40 ถึง 70 องศาเซลเซียส หรือดีกว่าแล้วแต่รุ่น

           

 

2.2 Panel Computer (Panel PC)
              Panel Computer (Panel PC) เป็นคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมที่ เป็นคอมพิวเตอร์แบบ All-In-One มีหน้าจอแบบสัมผัส (Touchscreen) ติดตั้งอยู่บนตัวเครื่อง และออกแบบมาเพื่อใช้ในงานควบคุมและตรวจสอบกระบวนการในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในงานตรวจวัดและควบคุมกระบวนการผลิตรวมไปถึง ตู้ Kiosk ต่างๆ ซึ่งมักจะต้องมีการควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายขึ้น  Panel Computer (Panel PC) มักจะมีความแข็งแรงทนทานและมีระบบที่สามารถทำงานได้ในสภาวะที่มีการสั่นสะเทือน รวมถึงสถานที่ติดตั้ง Panel Computer (Panel PC)ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ เช่น อุณหภูมิ -40 ถึง 70 องศาเซลเซียส และมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากได้รับการออกแบบเพื่อใช้ในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

               นอกจากนี้ Panel Computer (Panel PC)ยังสามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่าย LAN WiFi 4G 5G และยังสามารถเพิ่ม Card interface ได้ด้วย ทำให้ Panel Computer (Panel PC) สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ง่ายขึ้นPanel Computer (Panel PC) ส่วนใหญ่จะ Support IP65  หมายถึง Panel Computer (Panel PC) สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็กที่มีปริมาณหนาแน่น และป้องกันละอองฝนหรือละอองน้ำได้  แน่นอนว่ายังมีบางรุ่นที่ กันน้ำได้ 100% ได้ด้วย

               

  2.3 Industrial PC (IPC)
Industrial PC (IPC) เป็นคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมที่ ออกแบบหน้าตาคลายๆกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป
แต่วัสดุอุปกรณ์จะแข็งแรงทนทานกว่ามาก รวมถึง Port และ Slot เชื่อมต่ออินเตอร์เฟสจะมากกว่ามีให้เลือกหลากหลายให้เข้ากับงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงยัง Support ระบบปฏิบัติการ DOS Windows CE Windows2000 Windows XP Windows 7 windows 10 Windows 11 เรายังสามารถจัด Spec เครื่องให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้
พร้อมทั้งบริการทดสอบและติดตั้งหน้างานอีกด้วย 

 

                    

  2.4 Transportation Computer Industrial
               Transportation Computer Industrial เป็นคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการควบคุมและจัดการการเคลื่อนย้ายในอุตสาหกรรมการขนส่ง โดยมักจะใช้ในรถไฟฟ้า รถบัส รถไฟ รวมถึงระบบการบริหารจัดการการจราจร เช่น ระบบติดตามและควบคุมการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ระบบควบคุมและจัดการการแสดงผลบนแผงควบคุมในรถบัส และระบบเชื่อมต่อระหว่างรถไฟกับโปรแกรมควบคุมการจราจร

               แน่นอน Transportation Computer Industrial คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมอีกประเภทดังนั้น จะมีความแข็งแรงและทนทานกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป เนื่องจากต้องทนทานต่อการสั่นสะเทือนและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับการดูแลรักษาที่ง่ายเพราะจะไม่ใช้พัดลมในการระบายความร้อน ทำให้ฝุ่นไม่เข้าเครื่อง นอกจากนี้ ยังมีความปลอดภัยสูงในการใช้งานและมีระบบป้องกันการช็อกและป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ไม่คงที่บนรถเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Computer) ต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปอย่างไร
* วัสดุอุปกรณ์ : Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม  ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในสถานการณ์อุตสาหกรรม โดยมีการออกแบบด้วยโครงสร้างและใช้วัสดุที่แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม ต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเท่านั้น เช่น บ้านหรือออฟฟิศ

* ความทนทาน: Industrial Computer มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่หนักและไม่มีความสะดวกสบายเช่น ความเย็น ความชื้น ความสั่นสะเทือนและฝุ่น ซึ่งต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่อาจไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมเหล่านี้ได้

* การทำงานต่อเนื่อง: Industrial Computer หรือคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม ถูกออกแบบให้ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่มีการปิดเครื่อง ซึ่งเป็นต่างจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ออกแบบให้ใช้งานใน office หรือในบ้านซึ่งไม่เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมงแน่นอน

* ความสามารถในการเชื่อมต่อ : Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม สามารถเชื่อต่อกับอุปกรณ์อินเตอร์เฟสที่หลากหลายกว่าและจำนวนมากกว่า เช่น เราสามารถเพิ่ม Port LAN ได้มากกว่า 16 Port ใน 1 เครื่องเชื่อมต่อ 4G-5G ได้ มี port USB ที่มากกว่า มี Digital IO ในเครื่อง หรือ Slot PCI หรือ PCIe แบบต่างๆ ที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
 
* ระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้า: Industrial Computer หรือ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม จะมีการคำนึงถึงปัญหาแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในงานอุตสาหกรรม โดยระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้าจะถูกติดตั้งเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้าของ Industrial Computer จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่รองรับการทำงานในสภาพแวดล้อมโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเครื่องจักรและเครื่องมือไฟฟ้าแรงดันสูง โดยมีฟังก์ชั่นป้องกันต่อแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำหรือสูงเกินค่าที่กำหนด และป้องกันการชํารุดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เกิดจากแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติ

 

ข้อดีและข้อเสียของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมเทียบกับคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ทั่วไป

* ความทนทาน: คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม ได้รับการออกแบบมาให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น อุณหภูมิสูง ฝุ่น และแรงสั่นสะเทือน

* ความเสถียร: คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมสร้างขึ้นด้วยส่วนประกอบคุณภาพสูงที่ผ่านการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีเวลาทำงานสูงสุด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่ระบบจะล้มเหลว

* ประสิทธิภาพ: คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับภาระงานที่หนักหน่วง และติดตั้งชิปคุณภาพดี กราฟิกการ์ด และหน่วยความจำเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพที่ราบรื่น

* ความสามารถในการปรับแต่ง: คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมสามารถปรับแต่งให้ตรงตามข้อกำหนดเฉพาะ เช่น พอร์ตอินพุต/เอาต์พุตพิเศษ อินเทอร์เฟซต่างๆ

 

อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมก็มีข้อเสียบางประการ เช่น:

* ค่าใช้จ่าย: โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะมีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ทั่วไป เนื่องจากการออกแบบและชิ้นส่วนประกอบเฉพาะทาง แต่ถึงแม้ราคาจะสูงแต่คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมมีความทนทานมาก ถ้ามองในความคุ้มค่ากว่าคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ทั่วไป เพราะไม่ต้อง Service บ่อย การทำงานก็ไม่ติดขัด ระยะการรับประกันที่ยาวนานกว่า

* ความซับซ้อน: การออกแบบเฉพาะของคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมอาจทำให้การกำหนดค่าและการใช้งานมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านไอทีโดยเฉพาะ